วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

อาหารไทยภาคใต้

อาหารไทยภาคใต้

               อาหารไทยภาคใต้ มีรสเผ็ดร้อน ที่ขึ้นชื่อคือ แกงเหลือง แกงไตปลา ข้าวยำ น้ำบูดเครื่องจิ้ม และขนมจีนน้ำยา ซึ่งมี ผักเหนาะหลายอย่าง ผัดสะตอ และอาหารทะเลหลายชนิด

แกงเหลือง
แกงไตปลา




ข้าวยำ
ผัดสะตอ

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีข้าวเหนียวนึ่ง เป็นหลัก อาหารที่ขึ้นชื่อมี ลาบ ลู่ ส้มตำ ปลาย่างผักนึ่งจิ้มแจ่ว ไก่ย่าง ปลาร้าแจ่วบอง อาหารเกือบทุกอย่างมีรสเผ็ดและเปรี้ยว

ไก่ย่าง
ปลาย่าง


ส้มตำ
ปลาร้าแจ่วบอง

อาหารไทยภาคกลาง

อาหารไทยภาคกลาง

               อาหารไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็น แกงใส่กะทิ เช่น แกงเขียวหวาน แกงเผ็ดเป็ดย่าง ที่ไม่ใส่กะทิก็มี เช่น แกงป่า แกงส้มผักรวม ยำ น้ำพริกกระปิปลาทูทอด ต้มยำ ผัดกะเพรา ไข่เจียว หมูทอด ข้าวมันส้มตำ

แกงเขียวหวาน
แกงป่า

อาหารไทยในท้องถิ่น

อาหารไทยในท้องถิ่น

               ปัจจุบัน การคมนาคมมีความสะดวกมากขึ้น คนไทยสามารถเดินทางติดต่อกันได้ง่ายไปทั่วทุกภาค อีกทั้งมีการอพยพย้ายถิ่นเพื่อไปทำงาน เรียนหนังสือ หรือค้าขาย ทำไห้เราสามารถรับประทานอาหารพื้นเมืองของถาคต่างๆ ได้ทุกแห่ง

อาหารไทยภาคเหนือ

               อาหารไทยภาคเหนือ มีแกงแค แกงฮังเล แกงโฮะ ยำหน่อ น้ำปู๋ หมูแหนม ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม ลาบ ข้าวซอย


แกงแค
แกงฮังเล
  

เครื่องดื่ม

เครื่องดื่ม

               การจัดสำรับอาหาร ไทยย่อมขาดเครื่องดื่มไม่ได้ แต่ในที่นี้จะไม่อธิบายถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

               นอกจากน้ำสะอาดและน้ำร้อนน้ำชา ซึ่งจัดไว้ประจำสำรับแล้ว สมัยก่อนยังมีน้ำยาอุทัยหอมชื่นใจ น้ำที่จัดถวายพระเรียกว่า น้ำอัฐบาน คือ น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง ได้แก่น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำลูกหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล(เหง้าบัว) น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่

น้ำยาอุทัย

               ยังมีน้ำดื่มที่ต้ม หรือคั้นจากพืชผักผลไม้ต่างๆ ดื่มแทนน้ำร้อน เติมน้ำตาลเล็กน้อยใส่น้ำแข็งดื่มแทนน้ำเย็น เช่น น้ำกระเจี๊ยบ น้ำดอกคำฝอย น้ำมะตูม น้ำใบเตย น้ใบบัวบก


น้ำกระเจี๊ยบ




 

ขนมในงานมงคลและงานเลี้ยง

ขนมในงานมงคลและงานเลี้ยง

               ขนมที่รับประทานในงานมงคลและงานเลี้ยง มีชื่อสื่อความหมายถึงความสุข ความเจริญ ความมั่งคั่ง เช่น ฝอยทอง ทองหยิบ ทองเอก เม็ดขนุน จ่ามงกุฏ ขนมโสมนัส ขนมกง ขนมถ้วยฟู ขนมชั้น ข้าวเหนียว ขนมทองพลุ และขนมเสน่ห์จันทน์ จัดวางแต่งสีสันสวยงาม

ขนมจ่ามงกุฏ


ขนมเสน่ห์จันทน์


ขนมโสมนัส

อาหารหวาน

อาหารหวาน

               หลังรับประทานข้าวแล้ว คนไทยนิยมรับประทานของหวานและผลไม้ เราเรียกของหวานว่า "ขนม" มีทั้งอย่างน้ำและอย่างแห้ง ปรุงด้วยข้าว แป้ง มะพร้าว และน้ำตาลเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ขนมปลากริมไข่เต่า ทับทิมกรอบ ขนมหม้อแกง ขยมเปียกปูน ขนมเรไร ขยมสำปันนี ขนมฝักบัว


ขนมปลากริมไข่เต่า


ขนมหม้อแกง

ขนมเปียกปูน

อาหารคาวในงานมงคล

อาหารคาวในงานมงคล

               อาหารคาวในงานมงคล อาหารที่นิยมจัดเลี้ยงในงานมงคล เช่น วันเกิด มีขนมจีนแกงต่างๆ ห่อหมก ผัดหมี่ วุ้นเส้น สื่อความหมายให้เจ้าของงานอายุยืนยาวเหมือนเส้นของขนมจีน เส้นหมี่ หรือวุ้นเส้น

ผัดวุ้นเว้น


ผัดหมี่

อาหารคาว

อาหารคาว

               อาหารคาว มีหลายรส ปรุงเปลี่ยนไปตามประเภทของกับข้าว และความนิยมในท้องถิ่น ที่สำคัญคือ ไม่ว่ากับข้าวนั้นจะมีรสจัด เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน อย่างไรก็ตาม เมื่อปรุงเสร็จแล้วต้องมีรสกลมกล่อม ผู้ปรุงรู้จักจัดเครื่องเคียงให้กลมกลืนกันกับรสแกง หรือน้ำพริกแต่ละชนิด

น้ำพริกและเครื่องจิ้ม

ไข่เค็มจัดเป็นประเภทเครื่องเคียง

ประเภทของอาหารไทย

ประเภทของอาหารไทย

               อารหารไทยจัดประเภทได้เป็น อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง หรือ ของกินเล่น เครื่องเดิม นอกจากนี้ยังมี อาหารในท้องถิ่น อาหารไทยตามฤดูกาล และ ตามเทศกาล อาหารไทยแต่ละอย่างล้วนมีวิธีปรุงอาหารที่น่ารู้น่าสนใจเป็นอย่างมาก


อาหารว่าง
เครื่องดื่ม

อาหารคาว

อาหารหวาน